Monthly Archives: มิถุนายน 2012

ง431101(การงานอาชีพฯ)ม.6

Categories: Original Program | ใส่ความเห็น

หนั้งสั้นเพื่อรณรงค์การยุติความรุนแรงในโรงเรียน

The beginning

Categories: Original Program | ใส่ความเห็น

6 weeks in USA

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

หนังสั้น TYN สอยดาววิทยา

 

เบื้องหลังหนังสั้น

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

22

http://www.flickr.com/apps/slideshow/show.swf?v=109615

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

Academic Transformation

                                          Academic Transformation  คำนี้หมายถึงอะไร ทำไม เป็นประเด็นร้อนในแวดวงของการเรียนรู้และนักวิชาการ ดิฉันเลยลองถามพี่กุ๊ก (Google) ถึงความหมายของคำดังกล่าว พี่กุ๊กก็เลยแนะนำให้พบปราชญ์ชาวบ้าน แห่งวงการไอที คือ พี่วิ ( Wikipedia) ซึ่งพี่วิเอง ก็ได้พูดถึง Academic Transformation  ซึ่งดิฉันสรุปได้ว่า “ การปฏิรูปการเรียนการสอน (Academic Transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษา การเรียนการสอน โดยไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในรายวิชา แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทั้งระบบ” ซึ่งดิฉันขออนุญาตหยิบยก คำคมที่ ท่าน ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล็อก gotoknow.org ในหัวข้อบันทึก Academic Transformation  นานาทัศนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
                        “การเปลี่ยนแปลงของสังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้สถาบันการศึกษาต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันกับสังคมที่เปลี่ยนไป มันคงเป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมหาก สถาบันการศึกษาใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไปพร้อมๆ กับค่าใช้จ่ายที่ลดลง” ( Newsweek )                                                                                                                                      

             “การเรียนรู้แบบใหม่นั้น เป็นทั้ง Team Learning และ Team Teaching เปลี่ยนห้องเรียน

จาก class room เป็น Emporium Model ซึ่งก็คือ Studio นั่นเอง เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องทำงาน เปลี่ยนบทบาทของอาจารย์ จากเป็นผู้สอน เป็นผู้แนะนำการทำงาน เปลี่ยนการเรียน จาก passive learning เป็น active learning หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือ ต้องออกแบบการเรียนรู้ใหม่ทั้งวิชา ไม่ใช่ทำเพียงบางส่วนของวิชา และใช้วิธีรับสมัครอาจารย์ที่ต้องการเข้าร่วม ไม่บังคับ จัดการเรียนรู้ ๒ สายไปพร้อมกัน เพื่อพิสูจน์ว่าวิธีไหนดีกว่า และเมื่อประเมินผลที่ตัวอาจารย์ อาจารย์ที่เข้าร่วมบอกว่าชีวิตความเป็นอาจารย์ดีกว่า สนุกกว่า …จะเป็นการเปลี่ยนโฉมวิชาการ (Academic Transformation) อย่างแท้จริง”

(ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช)

                            จากแนวทัศนะนี้เอง ทำให้ดิฉันเกิดไอเดียในการที่จะเปลี่ยนแปลงจากผู้สอนเป็น

ผู้แนะนำการทำงาน เริ่มจากในรายวิชาที่ดิฉันสอนอยู่ ง 43101 (การงานอาชีพและเทคโนโลยี) ในระดับ ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 พบพฤติกรรมของนักเรียนบางส่วน ไม่สนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบ ไม่ส่งงาน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเมื่อสิ้นภาคเรียน ซึ่งดิฉันตระหนักดีว่า นั่นคือปัญหาหนึ่งในเรื่องของ ความแตกต่างระหว่างบุคคลการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงได้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT พบว่าเป็นแนวทางหนึ่งในหลาย ๆ แนวทางของการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ของผู้เรียน 4 แบบ คือ นักจินตนาการ นักคิดวิเคราะห์ นักคิดด้วยสามัญสำนึก และนักเปลี่ยนแปลง (ประพันธ์ศิริสุเสารัจ. 2544: 77-82) 

และนี่คือที่มาของโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า นิทรรศการบูรณาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยตอนหลังได้บูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระคณิตศาสตร์โรงเรียนสอยดาววิทยา โดยจัดกิจกรรมไปแล้วเมื่อวันที่

11 สิงหาคม 2554 ในส่วนของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้นำเสนอนิทรรศการการนำเสนอผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ซึ่งผลจากการประเมินผลการจัดกิจกรรมในส่วนของการปรับพฤติกรรมของนักเรียนตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

แบบสอบถามความคิดเห็น ซึ่งประเมินโดยมีครู จำนวน 4 คนที่เข้าชมนิทรรศการเป็นผู้ประเมินร่วม และนักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการร่วมประเมิน อีกทั้งยังให้นักเรียนประเมินตัวเองพบว่าผู้เรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานของตนตามความถนัดแล้วผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานของตน ชื่นชมกับความสำเร็จ และเรียนรู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับปรุงงานของตนให้ขึ้น และการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป ทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด

โดยนำไปแลกเปลี่ยนรู้ผ่านบล็อกรายวิชาที่ www.learners.in.th/blog/kranteach654 สำหรับกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ 4 MAT ที่ดิฉันได้นำมาใช้ มีขั้นตอนดังนี้
1. การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้
2. การวิเคราะห์ประสบการณ์ หรือสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ และยอมรับความสำคัญของเรื่องที่เรียน
3. การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดหรือแนวคิด เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนแล้ว ผู้สอนจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดขึ้นด้วยตนเอง
4. การพัฒนาความรู้ความคิด เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์และเกิดความคิดรวบยอดหรือแนวคิดพอสมควรแล้ว ผู้สอนจึงกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความคิดของตนให้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น โดยการให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ในขั้นที่ 3-4 นี้คือการตอบคำถามว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ อะไร
5. การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ ในขั้นนี้ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำความรู้ความคิดที่ได้รับจากการเรียนรู้ในชั้นที่ 3-4 มาทดลองปฏิบัติจริง และศึกษาผลที่เกิดขึ้น
6. การสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง จากการปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ในขั้นที่ 5 ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของแนวคิด ความเข้าใจแนวคิดนั้นจะกระจ่างขึ้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถของตน โดยการนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้หรือปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ดังนั้นคำถามหลักที่ใช้ในขั้นที่ 5-6 ก็คือ จะทำอย่างไร
7. การวิเคราะห์ผลงานและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ เมื่อผู้เรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานของตนตามความถนัดแล้วผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานของตน ชื่นชมกับความสำเร็จ และเรียนรู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับปรุงงานของตนให้ขึ้น และการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
8. การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ขั้นนี้เป็นขั้นของการขยายขอบข่ายของความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดแก่กันและกัน และร่วมกันอภิปรายเพื่อการนำการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริงและอนาคต คำถามหลักในการอภิปรายก็คือ ถ้า…? ซึ่งอาจนำไปสู่การเปิดประเด็นใหม่ สำหรับผู้เรียนในการเริ่มต้นวัฏจักรของการเรียนรู้ในเรื่องใหม่ต่อไป

This slideshow requires JavaScript.

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

กิจกรรมตามรอยลำไย

….เมื่อพูดถึง..คำว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแล้ว..คงต้องยอมรับว่าครูหลาย ๆท่านคงต้องปรับรูปแบบการสอนแบบเดิม ๆ จากการที่ ครูเป็นผู้บอกหรือสอนความรู้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้ที่รับความรู้โดยตรงจากครู เปลี่ยนเป็นครูจะต้องเป็นผู้คอยชี้แนะแนวทางหรือออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องตรงตามศักยภาพของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อไปอย่างยั่งยืน
กิจกรรมแกะรอยคุณลำไย กลุ่มสาระการงานอาชีพโรงเรียนสอยดาววิทยา เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งสนับสนุน โครงการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของโรงเรียน โดยโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ กล่าวคือ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น พัฒนาทักษะกระบวนการคิดและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู
…..ในที่นี้ขอกล่าวถึง กิจกรรมแกะรอยคุณลำไย ที่ออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองโครงการดังกล่าว

                                              ผังความคิดกิจกรรมแกะรอยคุณลำไย

โดยมีแนวคิดการออกแบบโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ 2 แหล่งเข้าด้วยกัน คือ

                                          1. สวนลำไยของโรงเรียน

                        สำหรับกิจกรรม ฐานที่ 1 ปฏิบัติการแกะรอยคุณลำไย

ซึ่งรายละเอียดอื่น ๆ จะขอเล่าในตอนที่ 2 ต่อไป แต่ตอนนี้ ขอเชิญชม
ประมวลภาพและกิจกรรมต่าง ๆ ได้จาก

Categories: Original Program | ใส่ความเห็น

week 3 / Experience in Houston

                                         

The thinking  received from Hamshaire-Fannett Highschool Houseton Texas for 3 days.I found that…..

1.The  number of students in Hamshaire-Fannett classrooms  which have  Less than 15 students per class that is different  the classrooms in Thailand   that have almost 50 student  per one classroom

2.teachers  and Students in Hamshaire-Fannett classrooms   have the discipline and punctuality as well.

3.The Hamshaire-Fannett Highschool  have many  tools and technologies for learning.

4.Hamshaire-Fannett Highschool  can create and maintain supportive and safe learning environments

5.Hamshaire-Fannett Highschool  can engage professionally with colleagues,parents/careers and the community

Of ideas that count.I will show the VDO for teaching the teacher

http://www.makeadifferencemovie.com/

                              

Categories: Uncategorized | 2 ความเห็น

Friendship that came with my illness

                          On Friday befor we move from Lolisa’s house to Regina’s house. The match teacher invited us ride hose in her house.it’s made me sick.when I arrived in Regina’s house .I met Regina’s and her mom.Regina who was nurse caring  for me as well she bring some medicine for me .

                           On Saturday morning Regina bring my friends to Louisana except me because i am patients.i live in home with her mom. her mom is a old womam who friendly for me .she take care anything for me.she look at me with concern when she look at me.her eyes are warm.I want to told her ” I love you mom”

This slideshow requires JavaScript.

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.